วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
เฟื่องฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea spp.
ชื่อวงศ์ NYCTAGINACEAE
ชื่อสามัญ Bougainvillea
ชื่ออื่นๆ Paper Flower, Kertas, ตรุษจีน
ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราวปี ค.ศ.1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชีย สำหรับในประเทศไทยมีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พ.ศ.2423 ในสมัยรัชการที่ 5 และมีการนำเข้าจากต่างประเทศมากมายจนถึงปัจจุบัน พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศเนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เฟื่องฟ้าเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยอายุยืนหลายสิบปี ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกสลับกับกิ่งหรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2.5 ซม. ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ ผู้พบเห็นทั่วไปมักเข้าใจว่าใบประดับคือดอก ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม. ติดอยู่ที่เส้นกลางใบของใบประดับ ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าดอกคือเกสรดอก ดอกเป็นชนิดไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน การปลูกเลี้ยงในประเทศไทยมักจะเกิดการกลายพันธุ์ โดยเนื้อเยื่อบริเวณตามีการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลทำให้ส่วนต่างๆ เปลี่ยนไป เช่น สีของใบประดับเปลี่ยนไป กลายพันธุ์เป็นใบประดับซ้อน กลายพันธุ์เป็นใบด่าง กลายพันธุ์เป็นดอกกระจุก เป็นต้น
การปลูกและดูแลรักษา
เฟื่องฟ้าเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิปานกลางหรือร้อนชื้น เฟื่องฟ้าจัดเป็นพืชที่ทนแล้งแต่ถ้าต้นยังเล็กควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เมื่อโตขึ้นต้องการน้ำปานกลางถึงค่อนข้างต่ำถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก
วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ว่านแสงอาทิตย์
ดอกว่านแสงอาทิตย์ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ Haemanthus multiflorus (Tratt.) Martyn
ชื่อวงศ์ Amaryllidaceae
ชื่อสามัญ Blood flower, Powder puff lily
ชื่อพื้นเมือง ว่านกระทุ่ม ว่านตะกร้อ ว่านกุมารทอง
ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ชูส่วนของใบขึ้นมากเหนือผิวดิน
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบต้น ใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาอวบน้ำ สีเขียวอมเหลือง ผิวเป็นมัน อาจย่นเป็นคลื่นเล็กน้อยก้านใบสั้นมีจุดประสีน้ำตาลแดง
ดอก : สีแดงสด หรือแดงอมส้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นจากกอ ก้านช่อดอกกลม สีเขียวอ่อน ชูตั้งขึ้น ยาว 30-40 เซนติเมตร กลีบดอกและเกสรยาวเป็นเส้นฝอย ช่อดอกบานเต็มที่กว้าง 12-15 เซนติเมตร
กล้วยไม้ดิน
ดอกกล้วยไม้ดิน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spathoglottis Blume
ชื่อสามัญ Ground orchid
วงศ์ ORCHIDACEAE.
ลักษณะทั่วไป:
ต้น มีลำลูกกล้วยป้อมซึ่งมักนิยมเรียกกันว่าหัว ที่ห้วมีข้อถี่ๆ ลำหนึ่งหรือหัวหนึ่งมีใบอยู่ 2-4 ใบ กล้วยไม้ดินใบหมากมีลำต้นแบบ creeping rhizome อยู่ใต้ดินซึ่งเจริญแบบซิมโพเดียมลำลูกกล้วยเจริญจากลำต้นใต้ดินโผล่เหนือดินเป็นจุดกำเนิดใบ
ใบ ใบยาวและมีเส้นใบที่เป็นรอยพับจีบตามยาวฐานใบมีกาบใบรอบๆ ลำต้นปลายกาบใบจะเชื่อมตดกันเมื่อเล็กใบจะตั้งตรงและมีร่องเมื่อแก่ปลายใบเรียวแหลมและโค้งปลายห้อยลง
ดอก ช่อดอกเกิดด้านข้างของหัว ดอกเกิดที่ปลายช่อ ช่อดอกแบบ racemose ดอกบานจากข้างขึ้นข้างบนจำนวน 10- 30 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีรูปร่างคล้ายกันและกางออกเกือบอยู่ในระนาบเดียวกันกลีบปากช่วงกลางมักคอด ช่วงปลายกว้างและปลายมักจะหยักเว้าส่วนโคนมีหูปากพับตั้งขึ้นทั้ง 2 ข้างบางชนิดไม่มีหูปาก ปลายปากผายออกกว้างแล้วแต่ชนิดบางครั้งเว้าที่ปลายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด เส้าเกสรที่โคนยาวโค้งเล็กน้อย กล่มเรณูมี 2 ชุด ชุดละ 4 กลุ่มแต่ละกลุ่มรูปคล้ายกระบอก มีผู้นำมาปรับปรุงพันธุ์ทำให้มีความหลายหลายของสีและขนาดของดอกมาก
ราก เป็นแบบรากดิน (terrestrial)
ฤดูกาลออกดอก: มีดอกเกือบตลอดปี
การปลูก:
1.ใช้กาบมะพร้าวสับติดเปลือกเป็นชิ้นๆ ก่อนจะนำมาใช้ปลูก ควรแช่น้ำไว้ประมาณ 1-2 คืนเพื่อให้กาบมะพร้าวอุ้มน้ำไว้เต็มที่ก่อน แต่ไม่ควรเกิน 2 คืนไม่งั้นจะมีกลิ่นเหม็นและอาจเกิดการเน่าได้ครับ การใช้กาบมะพร้าวชิ้นเป็นเครื่องปลูกสำหรับว่านจุก
ข้อดีก็คือต้นว่านจุกจะฟื้นตัวได้ไวและเจริญเติบโตได้ดีมาก
ข้อเสียก็คือกาบมะพร้าวมักทรุดตัวเร็ว ไม่ถึง 2 ปี ก็ผุพังหมด ต้องทำการเปลี่ยนเครื่องปลูกใหม่เรื่อยๆ และต้องไม่นำกระถางไปวางไว้บนพื้นดินเปลือยๆ นะครับ ควรหาจานรองหรืออิฐบล็อคมารองก้นกระถางก่อน ไม่งั้นพวกปลวกจะมากินกาบมะพร้าว และอีกข้อหนึ่งคือกาบมะพร้าวมักมีแร่ธาตุซึ่งเป็นอาหารสำหรับพืชน้อย ควรให้ปุ๋ยพวกออสโมโคสเสริม
2.ใช้ดินใบก้ามปูใช้ผสมในอัตราส่วน ดินใบก้ามปู : กาบมะพร้าวสับชิ้น = 2 : 1 โดยกาบมะพร้าวสับต้องใช้วิธีเดิมคือแช่น้ำก่อน
ข้อดีของดินคือเป็นเครื่องปลูกที่อยู่ได้นาน การเติบโตหรือฟื้นตัวของกล้วยไม้ดินก็เร็วพอประมาณและมีแร่ธาตุที่พืชต้องการอยู่เพียงพอในช่วงแรกๆ
ข้อเสียประการแรก เมื่อปลูกแล้วกระถางกล้วยไม้ของเราจะมีน้ำหนักสูง เคลื่อนย้ายลำบากหน่อย
ประการที่สอง หากปล่อยนานๆไปไม่มีการพรวนเครื่องปลูกหรือเพิ่มกาบมะพร้าวจะทำให้เครื่องปลูกแน่นไปด้วยดิน และหากปลูกไปนานพอควรแล้วควรเสริมพวกปุ๋ยด้วย
การใช้ประโยชน์: ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด: ตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์ นิวกินี ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิกบางเกาะ
แหล่งที่พบ: พบขึ้นเกือบทั่วประเทศไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก เป็นพวกที่มีดอกสีเหลืองหรือขาวนวล ส่วนที่พบทางภาคใต้ดอกสีม่วง
วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
กุหลาบ
ดอกกุหลาบ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa spp. and hybrid
ชื่อสามัญ Rose
วงศ์ Rosaceae
ลักษณะทั่วไป
กุหลาบนับว่าเป็นไม้ดอกที่มีความงามยากที่ไม้ดอกอื่นจะเทียบเท่า จนได้รับชื่อว่าเป็น"ราชินีแห่งดอกไม้" (Queen of flower) กุหลาบมีมานานประมาณ 30 ล้านปีมาแล้ว มีทั้งหมดประมาณ200 สปีชี่ส์ พันธุ์ดั้งเดิม(wild species) มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน
ส่วนกุหลาบที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันเป็นกุหลาบที่ผ่านการวิวัฒนาการมานานนับร้อยๆ ปีและทั้งหมดเป็นกุหลาบลูกผสมซึ่งได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างกุหลาบ 1-8 สปีชี่ส์ และส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย
ใบ : ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-5 ใบ ใบรูปไข่ กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันและมีรอยย่นเล็กน้อย
ดอก : มีหลายสีแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ เช่น สีเหลือง ส้ม แดง ขาว ชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็น
ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบดอกมีตั้งแต่ 5 กลีบขึ้นไป หากเป็นลูกผสมจะมีจำนวนกลีบดอกมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น ดอกบานเต็มที่กว้าง 10-15 เซนติเมตร
ผล : ผลแห้ง รูปไข่ กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 2.5-3 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดล่อน
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ปักชำกิ่งและราก, ติดตา, ต่อกิ่ง, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สีกุหลาบสื่อความหมาย
วันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมายของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความดังน
สีแดง สื่อความหมายถึง ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ
สีชมพู สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์
สีขาว สื่อความหมายถึงความมีเสน่ห์ความบริสุทธิ์มิตรภาพและความสงบเงียบและนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง
สีเหลือง สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ
สีขาวและแดง สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
กุหลาบตูม สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย
พันธุ์ของดอกกุหลาบ
กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้า แบ่งออกโดยสังเขปจะได้ดังนี้
1. กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที (Hybrid Tea หรือ HT)J ปกติมัก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดโตกลีบดอกซ้อน พุ่มต้นตั้งตรงสูงประมาณ 1-2 เมตร กุหลาบที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด ขณะนี้มักจะเป็นกุหลาบประเภทนี้ อย่างไร ก็ตาม พันธุ์ ไฮบริดที นั้น มิได้ใช้บลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ดี
ทุกพันธุ์ ดังนั้น จำเป็นต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละท้องที่
ปัจจุบันกุหลาบที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอกในประเทศไทยมีอยู่มากมายหลายพันธุ์แต่พันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ปลูกมีดังนี้
พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บราโว. เรดมาสเตอร์พีช, คริสเตียนดิออร์, โอลิมเปียด, นอริค้า, แกรนด์มาสเตอร์พีช, ปาปามิลแลนด์, เวก้า
พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ พันธุ์คิงส์แรนซัม, ซันคิงส์, เฮสมุดสมิดท์,นิวเดย์ โอรีโกลด์ และเมลิลอน
พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ พันธุ์ซันดาวน์เนอร์, แซนดรา, ซุปเปอร์สตาร์หรือทรอพปิคานา
พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย, คาสลาส, ไอเฟลทาวเวอร์, สวาทมอร์, เฟรนด์ชิพ, เพอร์ฟูมดีไลท์, จูวังแซล, เฟิร์สท์ไพรซ์, อเควเรียส, ซูซานแฮมเชียร์
พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ไวท์คริสต์มาส เอทีนา
พันธุ์ดอกสีอื่นๆ ได้แก่ พันธุ์แยงกี้ดูเดิ้ล, ดับเบิ้ลดีไลท์, เบลแอนจ์
นอกจากนี้ยังมีกุหลาบสำหรับเด็ดดอกร้อยพวงมาลัย เช่น กุหลาบพันธุ์ฟูซิเลียร์ ซึ่งมีดอกสีส้ม
2. กุหลาบพวง หรือ ฟลอริบันด้า ( Foribunda หรือ F.) กุหลาบพวงมีความแข็งแรงทนทานกว่ากุหลาบตัดดอกออกดอกดกแต่ดอกไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอกแต่มีครบทุกสี และออกดอกเป็นช่อทีละหลาย ๆ ดอก จึงนิยมเรียกว่ากุหลาบพวง และมักบานพร้อมกัน ดอกมีขนาดเล็ก พุ่มต้นตั้งตรงสูง ประมาณครึ่งเมตรถึง 1 เมตรเหมาะสมที่จะปลูกในแปลง ประดับและในกระถางเช่น พันธุ์ฟูซีเลียร์, พันธุ์แองเจลเฟส
3. ประเภทแกรนดิฟลอร่า (Grandiflora หรือ Gr. ) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างกุหลาบตัดดอก และกุหลาบพวง มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว แต่ดอกเล็กกว่ากุหลาบตัดดอก มีก้านยาว ต้นโต สูง และแข็งแรง เช่ น พันธุ์คาเมล็อท, พันธุ์คาเสทไนท์
4. กุหลาบ หรือ มินิเอเจอร์ (Miniature หรือ Min.) เป็นกุหลาบที่มีขนาดพุ่มต้นเล็ก สูง 1- 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก นิยมปลูกประดับแปลง และใช้เป็นไม้กระถาง เช่น พันธุ์เบบี้ มาสเคอร์เหรด
5. กุหลาบเลื้อย หรือ ไคลมเบอร์ (Climher หรือ Cl.) กุหลาบชนิดนี้ลำต้นสูงตรง นำไปเลื้อยพันกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดอกมีทั้งเป็นดอกขนาดใหญ่ และดอกเป็นพวง เช่น พันธุ์ดอนจวน,พันธุ์ค็อกเทล
6. ประเภทโพลีแอนท่า (Polyantha หรือ Pol.) เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างพันธุ์โรซ่า มัลติฟอร่า กับ โรซ่า ไชเนนซิสมีขนาดพุ่มต้นเตี้ย แข็งแรงและทนทานมาก ออกดอกเป็นพวงคล้าย กุหลาบพวง ลักษณะดอกและต้นคล้ายกุหลาบหนูแต่จะแตกต่างกับกุหลาบหนูตรงที่กุหลาบโพลีแอนท่าจะมีหูใบที่มีลักษณะของ
พันธุโรซ่า มัลติฟลอร่า กุหลาบประเภทนี้ เช่น พันธุ์วายวอน ราเบีย
7. ประเภทแรมเบลอร์ (Rambler หรือ R) มีลำต้นยาวและอ่อนโค้งออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก เช่น พันธ์ไดโรที เปอร์กิน
8. กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub หรือ S.) ได้แก่กุหลาบพันธุ์ป่าหรือลูกผสมของพันธุ์ป่า ซึ่งมีทรงต้นเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กส่วนมากมีกลีบชั้นเดียว เช่น พันธ์โรซ่า นิติด้า, โรซ่า มัลติฟลอร่า, โรซ่า รูโกซ่า
กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้
กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบไฮบริดที (Hybrid Tea: HT) ที่มีดอกใหญ่ แต่การดูแลรักษายาก ผลผลิตต่ำ (100-150 ดอก/ตร.ม./ปี) และอายุการปักแจกันสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกุหลาบ Floribunda มักมีก้านยาวระหว่าง 50-120 เซนติเมตร กุหลาบดอกใหญ่ได้รับความนิยมมากใน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว โมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี พันธุ์กุหลาบดอกใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) , มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) , โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) , คารล์ เรด (Carl Red: แดง) , โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) , เฟิร์สเรด (First Red: แดง) , โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) , บิอังกา (Bianca: ขาว) , โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น
กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะระหว่างกุหลาบดอกใหญ่ และเล็ก เป็นกุหลาบ Hybrid Tea ให้ผลผลิตสูง (150-220 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี ความยาวก้านระหว่าง 40-60 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น
กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และบริโภคกันมากในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมันนี และเนเธอร์แลนด์ กุหลาบก้านสั้นนี้เป็นกุหลาบ Floribunda ที่ให้ผลผลิตสูง (220-350 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนต่อการขนส่งดีกว่ากุหลาบดอกใหญ่ มักมีความยาวก้านระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แหล่งผลิตกุหลาบดอกเล็กได้แก่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิสราเอล และเคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น
กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น
กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาล
สายพันธ์
การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันจะคำนึงถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ มากกว่าการที่ดอกสวยสะดุดตาแต่เมื่อซื้อไปก็เหี่ยวทันที ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมักมีข้อพิจารณาดังนี้
มีผลผลิตสูง ปัจจุบันกุหลาบดอกเล็กให้ผลผลิตสูงถึง 300 ดอก/ตร.ม./ปี
อายุการปักแจกันนาน พันธุ์กุหลาบในสมัยทศวรรษที่แล้วจะบานได้เพียง 5-6 วัน ปัจจุบันกุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ สามารถปานได้ทนถึง 16 วัน
กุหลาบที่สามารถดูดน้ำได้ดี
กุหลาบที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ
สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน
กลิ่น เป็นที่เสียดายที่กุหลาบกลิ่นหอมมักไม่ทน แต่ก็มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกกลิ่นหอมบ้าง สำหรับตลาดท้องถิ่น
มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง
การขยายพันธ์
กุหลาบ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ การตอน การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีระบบรากที่แข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า การปลูกและการจัดการ
สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาว
การให้น้ำ
ให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
การให้ปุ๋ยก่อนปลูก
ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้
ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก
ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแตสเซืยม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร
สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ
ระยะสร้างทรงพุ่ม สัดส่วน 1 : 0.58 : 0.83
ระยะให้ดอก สัดส่วน 1 : 0.5 : 0.78
ระยะตัดแต่งกิ่ง สัดส่วน 1: 0.8 : 0.9
การตัดแต่งกิ่งกุหลาบ
การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูก เมื่อตากุหลาบเริ่มแตก ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย) ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี
การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำการตัดแต่งแบบ ตัดสูงและต่ำ (สูงและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งปี
โรคกุหลาบ
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีศัตรูมากพืชหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูกุหลาบให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปลูกควรทราบลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และวงจรชีวิตของศัตรูนั้น ๆ รวมทั้งการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น และควรฝึกเจ้าหน้าที่ให้หมั่นตรวจแปลง และสังเกตต้นกุหลาบทุกวันจะช่วยให้พบโรคหรือแมลงในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถกำจัดได้ง่าย ในการฉีดพ่นสารเคมีควรใช้สารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้สารนั้น ๆ แสดงประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ จากนั้นนั้นควรสับเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีเพื่อลดการดื้อยา
โรคราน้ำค้าง (Downey mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด
โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa ลักษณะการทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน
โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae) เป็นโรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก
โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์
โรคกิ่งแห้งตาย (die back) เกิดจากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง
ไรแดง (Spider mite)
เพลี้ยไฟ (Thrips)
หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)
ชวนชม
ดอกชวนชม |
ชื่อสามัญ Impala Lily Adenium
ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenium obesum
วงศ์ Apocynaceae
ลักษณะของต้นชวนชม
ลำต้น เป็นพืชอวบน้ำ ไม้เนื้ออ่อน ลักษณะของกิ่งเป็นลำกลม ผิวเรียบสีเขียวอมเทา มียางใส ๆ อยู่ด้วย
โขด มีหน้าที่ใช้สะสมอาหาร มีลักษณะบวมอยู่ใต้ดินหรือเหนือดิน
ใบ เป็นใบแบบเดี่ยว ที่ออกตามรอบกิ่ง มีลักษณะของใบต่างกันตามลักษณะพันธุ์ เช่น ใบรูปไข่ รูปดอก เป็นต้น
ดอก จะออกตามช่อปลายกิ่ง ประมาณ 10-20 ดอกต่อช่อ
ฝักหรือผล จะมีลักษณะคล้ายบูมเมอแรง สองฝักติดกัน ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร โดยที่ปลายโคนจะเรียวแหลม
ประโยชน์ของต้นชวนชม
หลายคนเชื่อว่าการปลูกต้นชวนชมเอาไว้ในบ้านนั้นจะทำให้เกิดความนิยมชมชอบ เพราะมีชื่ออันเป็นมงคล อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีความสวยงามอ่อนช้อย ชวนให้มองอย่างเพลินตา ชวนให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุขกับบรรยากาศสวย ๆ ของดอกชวนชมภายในสวน
วิธีปลูกต้นชวนชม
เริ่มด้วยดินที่ใช้ปลูก จะต้องเป็นดินที่โปร่งร่วน มีการระบายน้ำที่ดี เพราะต้นชวนชมเป็นพืชจากทะเลทราย มีต้นอวบน้ำ ดังนั้นจะทนในสภาพที่มีน้ำขังไม่ได้ ถ้าเจอน้ำขังต้นจะเน่าตายหมด จึงควรปลูกต้นชวนชมเอาไว้ในดินที่โปร่งและร่วยซุยเหมือนดินทราย และเติมวัสดุปรุงดินต่าง ๆ เพิ่มเข้าไป เช่น ใบก้ามปู กาบมะพร้าวสับ เปลือกถั่วลิสง แกลบดิบ และทราบหยาบ เป็นต้น เพื่อให้ดินมีความร่วนซุย โดยมีอัตราผสมหลายสูตรดังนี้
สูตรที่ 1 ทราย, ใบไม้ผุ, ปุ๋ยคอกเก่า, ขุยมะพร้าว ในอัตรา 1:1:1:1
สูตรที่ 2 ทราย, ขี้เถ้าแกลบ, ปุ๋ยคอกเก่า, ใบก้ามปูผุ ในอัตรา 1:1:1:2
สูตรที่ 3 ดิน, แกลบผุ, ปุ๋ยคอกเก่าล กาบมะพร้าวสับ ในอัตรา 1:2:1:1
วิธีการดูแลรักษา
การให้น้ำ
เนื่องจากเป็นต้นที่อวบน้ำ ดังนั้นการให้น้ำต้นชวนชมจึงต้องให้น้อย ๆ แต่ถ้าเป็นต้นชวนชมขนาดใหญ่ ควรรดน้ำวันละครั้ง ทั้งนี้ ต้นชวนชมถ้าขาดน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ ก็สามารถทนได้ แต่ต้นจะนิ่ม เมื่อให้น้ำกลับมาอีกครั้งก็จะแตกใบขึ้นมาอีกครั้ง
การให้ปุ๋ย
ต้นชวนชมไม่ต้องการปุ๋ยมาก ดังนั้นปุ๋ยที่ให้ควรเป็นปุ๋ยที่มีเลขหน้าสูง เช่น 15-5-5 หรือ 15-15-15 ทุก 2 สัปดาห์ นาน 1-2 เดือน แต่ถ้าหากต้นพร้อมออกดอก ก็ใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ทุก 2 สัปดาห์ นาน 1-2 เดือน
การขยายพันธุ์
การปักชำ วิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด สามารถทำได้ทุกเวลา แต่เวลาที่เหมาะสมที่สุด คือก่อนและหลังฤดูฝน (พฤษภาคม - มิถุนายน และ พฤศจิกายน - ธันวาคม) ผลที่ออกมา ต้นใหม่จะเหมือนต้นเดิมทุกอย่าง
การเสียบยอด การนำยอดชวนชมเสียบกับต้นตอชวนชม เพื่อเปลี่ยนยอดของพันธุ์เดิมสู่พันธุ์ใหม่ตามยอดที่เสียบ อย่างไรก็ตาม ยอดที่นำมาเสียบจะไม่กลายพันธุ์แต่อย่างใด แม้ว่าจะยุ่งยาก แต่ต้นชวนชมที่อยู่ในกระถางก็จะใช้วิธีการเสียบยอด
การตอนกิ่ง จะเลือกกิ่งที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป ตอนแบบปาดกิ่งแนวเฉียง ลึกไปถึงกึ่งกลางของกิ่ง จากนั้นก็ใช้ไม้จิ้มฟันค้ำที่รอยปาด ไม่ให้แผลติดกัน รอจนแผลแห้งราว 7 วัน ก็ใช้กาบมะพร้าวหรือดินหุ้มรอยแผลเอาไว้ แล้วรออีก 20-30 วัน เพื่อให้กิ่งตอนออกราก ก็ตัดกิ่งตอนไปปลูกต่อ
การเพาะเมล็ด ใช้เมล็ดใหม่ที่สมบูรณ์ ไม่ลีบ จะมีโอกาสการงอกของต้นที่สูงกว่า ซึ่งวิธีการโรยเมล็ดพันธุ์ ควรโรยบนวัสดุเพาะ ให้กระจายเท่า ๆ กัน ให้ภาชนะถูกแสงแดงรำไร รดน้ำยาป้องกันเชื้อราเล็กน้อย รดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ราว 3-7 วัน กระทั่งเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อน และเมื่อต้นชวนชมมีอายุประมาณ 1-2 เดือน ค่อยย้ายไปปลูกในกระถาง
ดอกดาวเรือง
ดอกดาวเรือง |
ชื่อสามัญ Marigold
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes erecta L
วงศ์ Compositae
ลักษณะทั่วไปของดาวเรือง
ดาวเรือง (Marigold) เป็นชื่อที่คนไทยทั่วไปผู้จักกันดี แต่มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า "ดอกคำปู้จู้" ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 0.5-4 ฟุต ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี
ชนิดของดาวเรือง
ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigolds ) เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริการ ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่
พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple) ปัมพ์กิน (Pumpkin) เป็นต้น
พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูนช๊อต (Moonshot) เป็นต้น
พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon) ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) เป็นต้น
2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds) ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้มเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีกานดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่
พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า (Red Marietta) นอธตี้ มาเรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana) ลีโอปาร์ด (Leopard) เป็นต้น
พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย (Queen Sophia ) สการ์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โกลเด้น เกต (Golden Gate ) เป็นต้น
3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule Mariglds หรือ Afro American Marigolds)
เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลุกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ เช่นเดียวกับการผสมม้ากับลา มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่องเมล็ดมรเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ
ดาวเรืองลุกผสมที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต (Nugget) ไฟร์เวิร์ก (Fireworks) เรด เซเว่น สตาร์(Red Sevenstar) และโชว์โบ๊ต (Showboat)
พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับในประเทศไทย
1. พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น สวยงาม ดอกมีขนาดประมาณ 10 ซ.ม
2. พันธุ์ทอรีดอร์ ดอกสีส้ม ขนาดประมาณ 8.5-10 ซ.ม
3. พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดอกสีเหลือง ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง
4. พันธุ์ดาวเรืองเกษตร เป็นดาวเรืองที่มหาวิทยลับเกษตรศาสตร์ นำเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีทองเบอร์ 1 พันธุ์สีทองเบอร์ 4 เป็นพันธุ์ที่มีดอกสีเหลืองขึ้นได้ดีในสภาพของประเทศไทย และให้ผลลิตสูงพอสมควร
การขยายพันธุ์ดาวเรือง
1. การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันและผลผลิตดีกว่าวิธีอื่น โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ
การเพาะเมล็ดในกระบะ กระบะที่จะใช้เพาะอาจเป็นกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกก็ได้ วัสดุเพาะประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1
การเพาะเมล็ดในแปลง แปลงที่จะใช้เพาะเมล็ดดาวเรือง ควรเป็นดินร่วนซุยและค่อนข้างละเอียด ขุดแปลงกลับหน้าดินตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง จากนั้นนำปุ๋ยคอก(มูลโค มูลเป็ด มูลไก่ เป็นต้น ) มาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ย่อยดินให้ละเอียดแล้วปรับหน้าแปลงให้เรียบ
การเพาะเมล็ดทั้งการเพาะในกระบะและในแปลง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
1. ทำร่องบนวัสดุเพาะในกระบะหรือบนแปลงให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร และให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 5 ซ.ม
2. หยอดเมล็ดดาวเรืองในร่อง ห่างกันประมาณ 3-5 ซ.ม แล้วกลบร่องเพื่อกลบเมล็ดดาวเรือง
3. ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษฟาง หรือหญ้าแห้ง คลุมกระบะเพาะ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนชะแต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ควรคลุมพลาสติกเช่นกัน เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับกระบะหรือแปลงเพาะ จะทำให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น หลังจากเพาะได้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะงอก และอีกประมาณ 10-12 วัน จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกได้
2. การปักชำ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจากได้จำนวนน้อยและให้ผลผลิตต่ำกว่า ดอกมีขนาดเล็กกว่า สาเหตุที่ทำกันเพาะเป็นผลพลอยได้จากการเด็ดยอดทิ้ง ยอดที่เด็ดทิ้งจะมีความยาว 1-2 นิ้ว แล้วนำไปปักชำที่ใช้คือขี้เถ้าแกลบเพราะเก็บความชื้นได้ดีหลังจากเตรียมแปลงหรือถุงหักชำแล้ว นำยอดดาวเรืองมาปักชำ หากควบคลุมความชื้นได้ดี ยอดดาวเรืองจะออกรากภายใน 3-4 วัน และถ้ามีการใช้ฮอร์โมนเร่งรากจะทำให้ดาวเรืองออกรากได้ดียิ่งขึ้นจากนั้นนำไปใว้ให้ถูกแดดอีกประมาณ 3-4 วัน จึงสามารถย้ายไปปลูกยังแปลงปลูกได้
การปลูกดาวเรือง
การปลูกดาวเรืองเป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการปฏิบัติดูแล ขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลมีดังนี้
1. การเตรียมแปลงปลูก
ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้นขอบแปลงริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน
2. วิธีการปลูก
1) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
2) การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
3) การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปากหลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา
3.การปฏิบัติดูแลรักษา
1) การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และในช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรือง เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
2) การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ
3) การปลิดยอด นิยมเรียกว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้ม ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่ การปลิดยอดนี้ควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 คู่ วิธีการปลิดยอดทำได้โดยใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอด เพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกไม่เป็นไปตามกำหนด คือดอกบานไม่พร้อมกันและมีขนาดเล็ก ปกติดาวเรืองต้นหนึ่งควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ
4) การปลิดตาข้าง หลังจากการปลิดตายอดประมาณ 1 สัปดาห์ ตาข้างจะเริ่มแตกขึ้นใหม่นั้น มียอดที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้ปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ
4. การตัดดอก
ก่อนตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่ายประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทรายจำนวน15 ลิตร ฉีดพ่นใบดาวเรืองทั้งด้านบนและด้านล่าง จะทำให้ก้านดอกแข็งแรงขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอก อายุของดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55-65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลางเป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่บานทั้งหมด ในการตัดดอกนั้นควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุด จะทำให้ก้านดอกที่ติดมามีขนาดยาว
โป๊ยเซียน
ดอกโป๊ยเซี่ยน |
ชื่อสามัญ Crow of Thorns
ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia millii.
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ลักษณะทั่วไป
โป๊ยเซียน์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดย่อม ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-5 ฟุต ลำต้นมีหนามปกคลุม หนามแหลม และแข็ง เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือเขียวจัด เมื่อกรีดดูลำต้นจะมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากยอดและลำต้นจะทยอยกันออก ลักษณะใบมนรีค่อนค้างแคบเรียวแหลมขอบใบเรียบพื้นใบสีเขียวดอกออกตามปลายกิ่งออกดอกตามปลายกิ่งหรือส่วน
ยอดดอกมีขนาดเล็กมีสีแดง เหลือง ชมพู มีกลีบดอก 1 คู่ เป็นรูปไต มีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลักษณะลำต้น ใบ และดอก จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
โป๊ยเซียน ต้นไม้แห่งโชคลาภตามความเชื่อถือแต่โบราณ จัดเป็นไม้อวบน้ำอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มาก พบได้ทั่วไปในประเทศเขตร้อน พืชในวงศ์นี้มีมากกว่า 300 สกุล โป๊ยเซียนจัดเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Euphorbia ซึ่งพืชในสกุลนี้มีไม่ต่ำกว่า 2,500 ชนิด ได้แก่ คริสต์มาส สลัดได ส้มเช้า หญ้ายาง และ กระบองเพชรบางชนิด โป๊ยเซียนหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามงกุฎหนาม(Crown of Thorns) เนื่องจากลักษณะของลำตันที่มีหนามอยู่รอบเหมือนมงกุฎ นอกจากนี้ยังมีชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค เช่น กรุงเทพฯ เรียก ไม้รับแขก เชียงใหม่ เรียก ไม้ระวิงระไว, พระเจ้ารอบโลก หรือ ว่านเข็มพระอินทร์ แม่ฮ่องสอน เรียก ว่านมุงเมือง แต่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันในชื่อ โป๊ยเซียน มาช้านาน คำว่า โป๊ยเซียน เป็นคำในภาษาจีน แปลว่า เทพยดาผู้วิเศษ 8 องค์ ดังนั้นจึงมีความเชื่อกันว่าถ้าโป๊ยเซียนออกดอกครบ 8 ดอกในหนึ่งช่อจะนำความโชคดีให้แก่ผู้ปลูกเลี้ยง ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้สันนิษฐานว่าชาวจีนน่าจะเป็นผู้นำโป๊ยเซียนเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทยครั้งสมัยที่มีการติดต่อค้าขายกับคนไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแต่เดิมนั้นดอกของโป๊ยเซียนจะมีขนาด 1-2 ซม. เท่านั้น แต่ในปัจจุบันคนไทยได้ผสมพันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์โป๊ยเซียนจนมีขนาดดอกใหญ่กว่า 6 ซม. นอกจากนี้ดอกยังมีสีสันที่สวยงามจนอาจกล่าวได้ว่าโป๊ยเซียนไทยดีที่สุดในโลก
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์โป๊ยเซียนทำได้หลายวิธี คือ การปักชำกิ่ง การตอนกิ่ง การเสียบกิ่ง การเพาะเมล็ด
การปักชำกิ่ง
เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ง่ายและประหยัดนอกจากนี้ยังขยายพันธุ์ได้คราวละมากๆต้นใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการแต่จะใช้เวลาในการงอกของรากนานและโอกาสที่ กิ่งชำจะเน่าก็มีมากดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปักชำจึงควรเป็นช่วงฤดูหนาวคือช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม
ขั้นตอนการปักชำกิ่งมีดังนี้
เลือกต้นที่มีกิ่งแขนงไม่แก่หรืออ่อนเกินไปโดยสังเกตุที่สีของกิ่งต้องมีสีเข้มคล้ำแต่ก็ไม่ดำเพราะถ้ากิ่งแก่มากจะออกรากยากถ้ากิ่งอ่อนมากจะเน่าได้ง่าย
งดใส่ปุ๋ยและงดการให้น้ำอย่างน้อย 5-7 วัน
ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดกิ่งที่เลือกไว้ยาวประมาณ4-5นิ้วถ้าเป็นกิ่งแขนงที่มีความยาว4-5นิ้วอยู่แล้วให้ตัดให้ชิดกับลำต้นจะช่วยให้กิ่งชำเน่ายากขึ้น
เด็ดใบที่โคนกิ่งชำออกให้เหลือใบที่ยอดประมาณ 5-6 ใบ แล้วล้างยางที่บริเวณรอยตัดและรอยเด็ดใบด้วยน้ำสะอาด
ใช้ปูนแดงหรือยาป้องกันเชื้อราทาตรงบริเวณรอยตัดของต้นแม่ เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าแผล
เมื่อเตรียมกิ่งชำเรียบร้อยแล้ว การปักชำสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การปักชำดินและการปักชำน้ำ
การปักชำดิน นำกิ่งชำที่เตรียมไว้จุ่มในน้ำยาเร่งราก เช่น เซราดิกซ เบอร์ 1, รู๊ธโกร ฮอร์โมน หรือ เอ็กซ์โซติก แล้วทิ้งไว้ 3-4 ชม. เพื่อให้แผลแห้ง
จากนั้นนำไปปักชำในวัสดุปักชำที่มีส่วนผสมของขี้เถ้าแกลบกับทรายหรือขุยมะพร้าวในอัตราส่วนหนึ่งต่อหนึ่ง ปักชำให้กิ่งชำลึกประมาณ 1-2 นิ้ว กดดินโดยรอบให้แน่น รดน้ำผสมยาป้องกันเชื้อราและวิตามิน B1ให้ชุ่ม หลังจากปักชำแล้วประมาณ 5-6 สัปดาห์ ก็จะงอกรากและแตกใบอ่อนเมื่อแข็งแรงดีแล้วจึงย้ายลงปลูกในกระถางใหม่
การปักชำน้ำ เก็บกิ่งชำไว้ในที่ๆ ไม่มีลมพัดผ่านหรือในภาชนะที่สะอาด ประมาณ 24-30 ชม. จากนั้นนำไปชำในขวดที่สะอาด (ส่วนมากนิยมใช้ขวดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เช่น ขวดลิโพ) โดยใส่น้ำให้ต่ำกว่าปากขวดแล้วหยดน้ำยาเร่งราก เอ็กซ์โซติก ลงไป 2-3 หยด แช่โคนกิ่งชำลงไปในน้ำประมาณ 1-2 เซนติเมตร จากนั้นนำไปตั้งไว้ในที่แสงรำไรประมาณ 2-3 สัปดาห์ รากก็จะเริ่มงอกออกมา เมื่อรากยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร จึงย้ายลงปลูกในกระถางต่อไป
การตอนกิ่ง
ใช้เมื่อต้นพันธุ์ดีมีความสูงเกินไปและทิ้งใบทำให้ดูเก้งก้างไม่สวยงามการตอนจะช่วยให้ได้ต้นใหม่ที่มีขนาดเตี้ยลงแต่มีความแข็งแรงและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
สามารถตั้งทำดอกประกวดได้เร็ว ขั้นตอนการตอนกิ่งมีดังนี้
เลือกต้นพันธุ์ดีที่จะทำการตอน ใช้มีดที่คมและสะอาดเฉือนลำต้นเข้าไปประมาณเกือบครึ่งลำต้น ใช้กระดาษชำระเช็ดยางออกให้หมด
ใช้ไม้จิ้มฟันมาเสียบเข้าไปในแผลให้อ้าออก ทายาเร่งรากเข้าไปในแผลให้ทั่ว
นำตุ้มขุยมะพร้าวที่รดด้วยยาป้องกันเชื้อราและวิตามินB1มาผ่ากลางแล้วหุ้มลำต้นตรงรอยผ่ามัดหัวท้ายตุ้มเข้ากับลำต้นให้แน่น จากนั้นหาไม้หลักมาปักผูกลำต้นไว้กันไม่ให้โยกคลอน
รากของกิ่งตอนจะออกเต็มตุ้มขุยมะพร้าวภายใน30-60วันจากนั้นจึงตัดกิ่งตอนออกจากต้นเดิม ทารอยตัดด้วยปูนแดงหรือยาป้องกันเชื้อราทั้งส่วนที่เป็นต้นตอและกิ่งตอน
เมื่อแผลที่กิ่งตอนแห้งดีแล้วจึงนำไปปลูกลงดินต่อไป
การเสียบกิ่ง
เป็นการนำกิ่งพันธุ์ที่ดีราคาแพงมาเสียบกับต้นตอที่ราคาถูกและแข็งแรงซึ่งพันธุ์ที่นิยมใช้เป็นต้นตอคือพันธุ์แดงอุดมวิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้ปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนนิยมกันมาก
ทั้งนี้เพราะต้นใหม่ที่ได้จะแข็งแรงและมีโอกาสรอดสูง อีกทั้งยังใช้เวลาสั้นกว่าการขยายพันธุ์แบบอื่น ขั้นตอนที่สำคัญมีดังนี้
การเตรียมต้นตอ ต้นตอที่นิยมใช้เป็นโป๊ยเซียนพันธุ์แดงอุดม เนื่องจาก มีลำต้นแข็งแรง หาอาหารเก่ง ทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี วิธีการเตรียมต้นตอมีดังนี้
ต้นตอที่ใช้ควรเป็นต้นตอที่มียอดพุ่งหรือที่ยอดมีใบใหม่แตกออกมา แสดงว่าต้นตอแข็งแรงและมีระบบรากเติบโตเต็มที่ และควรเลือกต้นตอที่มีขนาดเท่ากับหรือใหญ่กว่ากิ่งพันธุ์ที่จะนำมาเสียบ งดให้น้ำและงดให้ปุ๋ยต้นตอประมาณ 2-3 วัน หรือจนดินแห้ง
ใช้มีดที่คมและสะอาด ตัดยอดต้นตอให้สูงจากดิน 3-5 ซม. ซับยางที่ต้นตอออกด้วยกระดาษชำระหรือผ้าที่สะอาด จากนั้นใช้มีดผ่าต้นตอเป็น รูปปากฉลาม หรือ รูปตัว V ลึกประมาณ 1-2 ซม. ส่วนยอดของต้นตอที่ตัดออกสามารถนำไปปักชำเพื่อทำเป็นต้นตอได้ต่อไป
การเตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งพันธุ์ที่จะนำมาเสียบกับต้นตอควรเป็นกิ่งพันธุ์ดีที่มีราคาแพง วิธีการเตรียมกิ่งพันธุ์มีดังนี้
กิ่งพันธุ์ต้องไม่แก่หรืออ่อนเกินไป งดให้น้ำและงดให้ปุ๋ยต้นตอประมาณ 3-5 วัน
ใช้มีดที่คมและสะอาด ตัดยอดกิ่งพันธุ์ยาว 3-5 ซม ซับยางออกด้วยกระดาษชำระหรือผ้าที่สะอาด ถ้ากิ่งพันธุ์มีใบมากให้ตัดใบออกบ้างเพื่อลดการคายน้ำ จากนั้นปาดโคนกิ่งเป็นรูปลิ่ม หรือ รูปตัว V ให้มีความยาวพอกับปากฉลามของต้นตอที่เตรียมไว้
การเสียบกิ่ง เป็นขั้นตอนการนำกิ่งพันธุ์มาเสียบกับต้นตอที่เตรียมไว้ ขั้นตอนในการเสียบกิ่งมีดังนี้
ใช้เชือกฟางฉีกเป็นเส้นเล็กๆยาว 12-20 นิ้ว มัดต้นตอใต้รอยบากให้เชือกเงื่อนอยู่ตรงข้ามกับด้านที่มีหนามแหลมสองหนาม เพื่อใช้ในการรั้งเชือกที่โยงยึดกิ่งพันธุ์ดี
นำกิ่งพันธุ์ดีมาเสียบกับต้นตอ ถ้ากิ่งพันธุ์มีขนาดเล็กกว่าต้นตอ ควรเสียบชิดไปด้านใดด้านหนึ่ง จากนั้นนำปลายเชือกทั้งสองเส้นโยงขึ้นรั้งกับหนามหรือใบของกิ่งพันธุ์ดี แล้วโยงข้ามมารั้งกับหนามทั้งสองของต้นตอ ดึงเชือกทั้งสองให้กิ่งพันธุ์แนบสนิทกับต้นตอพร้อมทั้งไขว้เชือกทั้งสองกลับมาพันบริเวณรอยต่อระหว่างต้นตอกับกิ่งพันธุ์หลายๆ รอบ จากนั้นจึงมัดปลายเชือกทั้งสองเข้าด้วยกันจนแน่น
นำต้นที่ทำการเสียบกิ่งเรียบร้อยแล้วใส่ในถุงพลาสติกมัดปากถุงให้แน่นวางไว้ในที่มีแดดรำไร ประมาณ 7 วันจึงนำออกจากถุงพลาสติก ควรทำในเวลากลางคืนเพื่อให้ต้นโป๊ยเซียนปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกได้
หลังจากนั้นควรรดน้ำให้เล็กน้อยโดยระวังอย่าให้น้ำถูกรอยแผล จนกว่ารอยแผลจะเชื่อมดีแล้วจึงให้น้ำได้ตามปกติ
การเพาะเมล็ด
ส่วนใหญ่จะทำการเพาะเมล็ดเมื่อมีการผสมพันธุ์โป๊ยเซียนจากเกษรตัวผู้และตัวเมียที่ต่างสายพันธุ์กัน จุดประสงค์เพื่อให้ได้โป๊ยเซียนพันธุ์ใหม่ที่เรียกกันว่า "ลูกไม้" ที่มีลักษณะของ ลำต้น ดอก หนาม ใบ และอื่นๆ ที่ดีกว่าเดิม เมล็ดที่ได้จากการผสมพันธุ์มีวิธีการเพาะดังนี้
เตรียมภาชนะที่ใช้ในการเพาะเมล็ดอาจใช้กระถางหรือกะบะพลาสติกก็ได้แต่ควรเป็นภาชนะที่ระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำขัง นำวัสดุเพาะที่มีส่วนผสมระหว่างขุยมะพร้าวกับทรายในอัตราส่วนเท่าๆ กัน เทลงในภาชนะแล้วเกลี่ยให้เรียบพร้อมกับกดให้แน่นพอประมาณ
นำเมล็ดที่ได้จากการผสมพันธุ์โดยใช้เมล็ดแก่สังเกตุจากเมล็ดที่เป็นสีน้ำตาลมาวางไว้บนวัสดุเพาะแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะหนาประมาณ1ซม. รดด้วยน้ำที่ผสมยาป้องกันเชื้อรา
นำภาชนะเพาะไปตั้งบริเวณที่มีแสงรำไรอากาศถ่ายเทได้สะดวก รดน้ำวันละครั้งแต่อย่าให้แฉะ ประมาณ 1-2 สัปดาห์จะมีต้นกล้างอกเจริญเติบโตขึ้นมา เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตจนมีใบประมาณ 5-7 ใบ จึงทำการย้ายลงปลูกในกระถางใหม่ต่อไป
การผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์เป็นการขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งที่ผู้ผสมมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดโป๊ยเซียนพันธุ์ใหม่ๆที่ดีขึ้น โป๊ยเซียนต้นใหม่ที่ได้จากการผสมพันธุ์ จะมีลักษณะแตกต่างไปจากต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ซึ่งอาจจะดีกว่าหรือด้อยกว่าก็ได้ในปัจจุบันผู้ปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนได้ผสมพันธุ์โป๊ยเซียนขึ้นมาใหม่มากมายได้มีการจดทะเบียนตั้งชื่อแตกต่างกัน ชื่อแต่ละชื่อจะมีลักษณะไปในทางที่เป็นศิริมงคลแทบทั้งสิ้น พันธุ์ใดที่มีลักษณะดี ดอกใหญ่ สีสวยแปลกตา ดอกบานทน
ก็จะได้รับความนิยมในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยง วิธีการผสมพันธุ์โป๊ยเชียนมีขั้นตอนดังนี้
เลือกต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีลำต้นอวบใหญ่แข็งแรงใบใหญ่หนาสีเขียวสใสหนามใหญ่ดอกใหญ่สีสวยจำนวนดอกมากกว่า8ดอก ต้นแม่พันธุ์ควรเป็นต้นที่ติดเมล็ดง่าย และต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไม่ควรมาจากสายพันธุ์เดียวกันเพราะจะทำให้ต้นลูกที่ได้มีลักษณะด้อยไปกว่าเดิม การเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ลักษณะดีและสายพันธุ์ถูกต้องจะทำให้ลูกไม้ที่ได้จากการผสมมีโอกาสเป็นโป๊ยเซียนพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีกว่าเดิม
การผสมพันธุ์โป๊ยเซียนสามารถทำได้ทุกฤดูแต่ฤดูที่เหมาะสมควรเป็นฤดูหนาวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่โป๊ยเซียนมีความอุดมสมบูรณ์ ออกดอกมาก เมล็ดที่ได้มีขนาดใหญ่เมื่อนำไปเพาะจะได้ลูกไม้ที่แข็งแรงสมบูรณ์
สังเกตุความพร้อมของเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียดอกโป๊ยเซียนเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เกสรตัวเมียอยู่ตรงกลางดอกและบานก่อนเกสรตัวผู้ประมาณ2-3วัน การสังเกตุเกสรตัวเมียว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์หรือไม่ให้สังเกตุที่เกสรตัวเมียจะมีน้ำเหนียวเยิ้มออกมา หลังจากเกสรตัวเมียบาน2-3วัน จะมีก้านชูเกสรตัวผู้ขึ้มาบริเวณกลางดอกประมาณ 5-7 อัน ละอองเกสรตัวผู้ที่พร้อมจะผสมพันธุ์จะมีลักษณะเป็นขุยๆ สีเหลือง
การถ่ายละอองเกสรควรทำในช่วงเช้า 7.00-9.00 น. เพราะเป็นช่วงที่ดอกโป๊ยเซียนสดชื่นและมีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์ การถ่ายละอองเกสรทำได้โดยใช้ภู่กันขนาดเล็กแตะยอดเกสรตัวผู้ของต้นพ่อพันธุ์แล้วนำไปแตะกับเกสรตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์ การผสมควรทำซ้ำ 2-3 ครั้ง จากนั้นคลุมด้วยถุงพลาสติกเจาะรูระบายอากาศเพื่อป้องกันแมลงมาผสมซ้ำ บันทึกชื่อพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ วันและเวลาที่ผสมผูกติดกับถุงพลาสติก
หลังจากผสมเกสรเสร็จแล้วประมาณ7วัน กลีบดอกจะเริ่มเหี่ยว เมล็ดจะเริ่มขยายตัวเป็นพูจำนวน 3 พู ชูสูงขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด หลังจากนั้นเมล็ดจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดพริกไทย
การเก็บเมล็ดควรเก็บเมล็ดที่แก่เต็มที่ มีลักษณะแห้ง สีน้ำตาลคล้ำ การเก็บควรเก็บในช่วงเช้าเพราะช่วงบ่ายเปลือกที่หุ้มเมล็ดจะแห้งและอาจดีดเมล็ดให้กระเด็นออกมาได้ การใช้ถุงพลาสติกใบเล็กๆ คลุมที่ดอกที่ผสมติดจะช่วยให้เมล็ดแก่ที่ถูกดีดออกมาตกอยู่ภายในถุงไม่หายไปไหน นำเมล็ดโป๊ยเซียนที่ได้ไปทำการเพาะเมล็ดต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)